ไทย​ English   การแสดงผล
C
C
C

ข้อมูลข่าวสาร

“วรากรณ์” เสนอสอบรับตรงรอบเดียววันเดียวกัน แก้ปัญหาวิ่งรอกสอบ

24 ก.ย. 2556 09:29 น.

ผู้อ่าน

สพฐ.เผยผลสแกนหานักเรียนอ่านภาษาไทยไม่ออกแค่ครึ่งเดียว 80 เขตพื้นที่ฯ จาก 183 เขต สุดอึ้ง! ยอดพุ่งเกินคาด พบ ป.3 อ่านได้บ้าง และอ่านไม่ได้เลยกว่า 6 หมื่นคน หรือ 8% ส่วนชั้น ป.6 ก็ไม่น้อยกว่า 3 หมื่น หรือ 4% "ชินภัทร" รับสูงเกินความคาดหมาย ที่คิดไว้ว่า อดีตเสมา 2 เสนอสอบรับตรงรอบเดียว วันเดียวกัน เหมือน กสพท.แก้ปัญหาวิ่งรอก ลดค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง ขณะที่ประธาน ทปอ.รับข้อสอบรับตรงยากจริง เพราะต้องการคัดเด็กให้เหมาะสม เตรียมข้อพบ “จาตุรนต์” ทำความเข้าใจระบบ
       
       วันนี้ (23 ก.ย.) นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ตามที่มหาวิทยาลัยในกลุ่มสมาชิก ทปอ.หลายแห่งเปิดรับตรง ทั้งที่ ทปอ.มีมติแล้วว่าในปีการศึกษา 2557 ขอให้เปิดรับตรงพร้อมกันในช่วงเดือนมกราคม นั้น ส่วนตัวเข้าใจ เพราะมหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่จำเป็นต้องทำตามมติของ ทปอ.เพราะมติดังกล่าวถือเป็นการขอความร่วมมือ ไม่ใช่การบังคับ แต่ที่ผ่านมาหาก ทปอ.ขอความร่วมมือส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยก็จะปฏิบัติตาม ส่วนสาเหตุที่ปีนี้ยังมีมหาวิทยาลัยเปิดรับตรงก่อนเดือนมกราคม อยู่หลายแห่งนั้น ในการประชุม ทปอ.ปลายเดือนตุลาคมที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ก็คงมีการหารือเรื่องนี้ และมหาวิทยาลัยที่เปิดรับตรงก่อนก็คงต้องตอบคำถามที่ประชุม ส่วนตัวคิดว่า น่าจะเป็นเรื่องการสื่อสาร เพราะเมื่อ ทปอ.มีมติอะไรออกมา อธิการบดีจะต้องสื่อสารลงไปยังคณะต่างๆ ซึ่งอาจจะเกิดความล่าช้าไปบ้าง ทำให้บางคณะประกาศรับตรงไปแล้วไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทัน และอีกส่วนคือ เพราะหลายคณะรับตรงหลายรอบ และอาจจะมาเปิดรับในช่วงเดือนมกราคมด้วย
       
       นายสมคิด กล่าวต่อว่า สำหรับข้อสอบรับตรงที่นักเรียนบอกว่ายากและออกเกินหลักสูตรนั้น ยอมรับว่าข้อสอบรับตรงต้องยากอยู่แล้ว อย่างคณะนิคิศาสตร์ มธ.มีการถามเกี่ยวกับข้อกฎหมาย ที่นอกเหนือหลักสูตร เพราะต้องการวัดความสนใจ และความถนัดของเด็กว่าเหมาะสมจะเรียนในคณะ/สาขานั้นๆ หรือไม่ อย่างไรก็ตามเร็วๆ นี้ตนในฐานะประธาน ทปอ.จะขอเข้าพบนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อหารือถึงปัญหาต่างๆ ในการรับเด็กเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ที่ผ่านมา รมว.ศธ.ฟังข้อมูลมาจากหลายฝ่าย แต่ยังไม่เคยฟัง ทปอ.ดังนั้น ข้อมูลบางอย่างจึงอาจคลาดเคลื่อน และเข้าใจผิดไปได้
       
       ด้าน นายวรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า การเปิดรับตรงของมหาวิทยาลัย แล้วเด็กวิ่งรอกสอบ ผู้ปกครองเสียค่าใช้จ่ายเสูง ไม่ใช่ปัญหาใหม่ ปัญหานี้มีมานานแล้ว จะแก้ปัญหานี้ได้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมแก้ปัญหา โดยเฉพาะ ทปอ.ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก ให้มารับตรงพร้อมกันเดือนมกราคม เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 พบว่ามีมหาวิทยาลัยเปิดรับตรงและมีเด็กมาสมัครจำนวนมาก ทั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) และมหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ (มศว)
       
       “ปัจจุบันมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ มีสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม ทปอ.กับกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ถ้า 2 กลุ่มนี้ ตกลงกันได้จะรับตรงในช่วงไหน จะลดปัญหาได้ส่วนหนึ่ง ถ้าจะให้ดี ควรรับตรงพร้อมกันในวันเดียว และนำคะแนนมาจัดอันดับ จะทำให้ปัญหาเด็กวิ่งรอกสอบ และผู้ปกครองต้องเสียค่าใช้จ่ายเยอะหมดไป เหมือนกับของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ที่จัดสอบร่วมกัน วันเดียวกัน แล้วนำคะแนนมาจัดอันดับ และประกาศผลพร้อมกัน ขณะที่ตัวนักเรียนสามารถเลือกสมัครสอบได้ทีเดียวหลายที่ ทุกอย่างอยู่ที่ระบบ ว่าเราจะจัดการได้หรือไม่” นายวรากรณ์ กล่าว
       
       ด้าน นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดี มศว และรองประธาน ทปอ.กล่าวว่า มศว ตั้งใจจะเปิดรับตรงในช่วงเดียวกันในเดือนมกราคม ตามที่ทปอ.ขอความร่วมมือมาอยู่แล้ว แต่เนื่องจากการสอบรับตรงปีนี้ มีการเตรียมการและจองสถานที่ล่วงหน้ามาล้วงหน้า และไม่สามารถหาสถานที่ใหม่ได้ทัน เนื่องจากมีผู้สมัครจำนวนมาก แต่ในปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป มศว จะรับตรงในช่วงเดือนมกราคมแน่นอน ส่วนที่มีนักเรียนออกมาระบุว่าข้อสอบของ มศว ยาก และออกเกินหลักสูตรนั้น ตนคงไม่สามารถตอบรายละเอียดอะไรได้ เพราะไม่เคยเห็นข้อสอบ เพราะข้อสอบต้องเป็นความลับที่สุด แต่เข้าใจว่าข้อสอบรับตรงย่อมต้องแตกต่างกับข้อสอบทั่วไป เพราะจะเน้นคัดเด็กที่มีความสามารถตรงตามความถนัดจริงๆ โดย มศว เองมีการจัดทำคลังข้อสอบ ที่วิเคราะห์ปัญหาการจัดสอบในแต่ละปี และออกแบบข้อสอบที่เหมาะสมกับความถนัดของเด็กมาหลายปีแล้ว และยอมรับว่าข้อสอบรับตรงของ มศว ค่อนข้างยาก
       
       ส่วนที่อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.เสนอให้มหาวิทยาลัยจัดรับตรงในวันเดียวนั้น เป็นแนวทางที่เป็นไปได้ เพราะการที่ ทปอ.ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้มารับตรงในช่วงเวลาเดียวกันถือเป็นกันแรกของการนำไปสู่การจัดสอบร่วมกัน แต่ยืนยันว่าการรับนักเรียนเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ยังคงต้องมีสองระบบ คือระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชัน และรับตรง เพื่อเปิดโอกาส และไม่ทำให้เด็กเครียดเกินไปจะมีประมาณ 2-3% เท่านั้น เร่งพัฒนาให้อ่านออกได้ภายในเทอม 2/2556 นี้ สั่งครูติวเข้มช่วงเย็นหลังเลิกเรียน
 
 
 
เครดิต นสพ.ผู้จัดการออนไลน์