ไทย​ English   การแสดงผล
C
C
C

นวัตกรรมการทดสอบ

โครงการ การพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดสอบ

ผู้อ่าน

การทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ (Computerized adaptive Testing : CAT)

เป็นการทดสอบที่จัดข้อสอบให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เข้าสอบ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการตอบข้อสอบข้อแรกหรือข้อที่ผ่านมาของผู้เข้าสอบ กล่าวคือ เมื่อผู้เข้าสอบทำข้อสอบข้อเริ่มต้นหรือชุดเริ่มต้นเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำผลการตอบข้อสอบมาวิเคราะห์หรือประเมินระดับความสามารถของผู้เข้าสอบ เพื่อที่จะคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปที่เหมาะสม โดยอาศัยทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) เป็นพื้นฐาน และจะสิ้นสุดการทดสอบเมื่อผู้ทดสอบทำการทดสอบตามเงื่อนไขหรือเกณฑ์ที่กำหนด

ขั้นตอนของการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างคลังข้อสอบ ขั้นตอนนี้เป็นการคัดเลือกข้อสอบที่ผ่านการวิเคราะห์โดยใช้หลักทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) แบบ 3 พารามิเตอร์ ประกอบด้วย ค่าอำนาจจำแนก (a) ค่าความยาก (b) และค่าการเดา (c) ขั้นตอนที่ 2 การคัดเลือกข้อสอบข้อเริ่มต้น ขั้นตอนนี้จะทำการคัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความยาก (b) อยู่ในระดับปานกลาง ขั้นตอนที่ 3 การคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไป เป็นขั้นตอนที่ต้องคัดเลือกข้อสอบให้ใกล้เคียงกับความสามารถของผู้เข้าสอบในขณะนั้น โดยพิจารณาจากผลการตอบข้อสอบข้อก่อนหน้า ขั้นตอนที่ 4 การประมาณค่าความสามารถของผู้เข้าสอบ เป็นขั้นตอนที่จะทำการประมาณค่าความสามารถของผู้เข้าสอบหลังจากที่ตอบข้อสอบข้อนั้นๆ แล้ว และขั้นตอนที่ 5 การยุติการทดสอบ ขั้นตอนนี้เป็นการสิ้นสุดการทดสอบเมื่อผู้เข้าสอบทำข้อสอบได้ครบตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด

ประโยชน์และความสำคัญของโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์

1. ประโยชน์สำหรับนักเรียน

   1.1 พัฒนาวิธีการเรียนของตนเอง เพื่อพัฒนาให้มีผลการเรียนดีขึ้นในระดับชั้นต่อไป

   1.2 พิจารณาเลือกสาขาวิชาที่เรียนเพื่อให้เหมาะสมกับตนเอง

   1.3 วางแผนการเรียนรู้ของตนเองเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. ประโยชน์สำหรับโรงเรียน

   2.1 นำไปใช้ในการพัฒนาด้านกระบวนการเรียนการสอนของครูในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

   2.2 เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ครูที่อยู่ภายในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ  

   2.3 ส่งเสริมให้ครูทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน

   2.4 นำข้อมูลที่ได้ไปกำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินผลการสอนของครู เป็นระยะๆ เพื่อช่วย

กำกับให้เป็นไปตามทิศทางและมาตรฐานของโรงเรียน

   2.5 ใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย และจุดที่ควรปรับปรุงของโรงเรียน

ขอบเขตของการจัดทำคลังข้อสอบ O-NET และการพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์

สำหรับการจัดสอบ O-NET ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระดับชั้นละ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมจำนวน 24 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ภาษาไทย 2) คณิตศาสตร์ 3) วิทยาศาสตร์ 4) ภาษาต่างประเทศ 5) ศิลปะ 6) สุขศึกษาและพลศึกษา 7) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และ 8) การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยใช้ข้อสอบของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สทศ. ระหว่างปี พ.ศ. 2551 - 2553 แบบทดสอบที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก มี 1 คำตอบ

ผลการวิจัย พบว่า

  1. คลังข้อสอบสำหรับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET  ในรูปแบบฐานข้อมูลมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้กับโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ได้ นอกจากนั้นยังสามารการนำไปประยุกต์ใช้กับการทดสอบประเภทอื่นๆ ได้
  2. โปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญและนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสม ที่จะนำไปใช้งานกับการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับการจัดสอบ O-NET
  3. ประสิทธิภาพของโปรแกรมทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับการจัดสอบ O-NET โดยการสำรวจความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้โปรแกรม ปรากฏว่า โปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นที่พึงพอใจของผู้ใช้งาน