ไทย​ English   การแสดงผล
C
C
C

ข้อมูลข่าวสาร

ยันต้องบรรจุ “เรียนฟรี” ในร่าง รธน.เพื่อเป็นหลักประกันจัดการศึกษา

13 พ.ย. 2557 11:26 น.

ผู้อ่าน

ภาพ ยันต้องบรรจุ “เรียนฟรี” ในร่าง รธน.เพื่อเป็นหลักประกันจัดการศึกษา
ภาพ ยันต้องบรรจุ “เรียนฟรี” ในร่าง รธน.เพื่อเป็นหลักประกันจัดการศึกษา
ภาพ ยันต้องบรรจุ “เรียนฟรี” ในร่าง รธน.เพื่อเป็นหลักประกันจัดการศึกษา

        “กมล” แจงต้องบรรจุเรียนฟรีในรัฐธรรมนูญ ชี้เป็นหลักการให้รัฐต้องจัดการศึกษาให้ทั่วถึง ระบุที่ประชุม กมธ.ศึกษาและทรัพยากรมนุษย์เลือก “พารณ” เป็นประธาน เตรียมเร่งสรุปประเด็นด้านการศึกษาให้เสร็จตามกรอบเวลา 60 วัน
       
       วันนี้ (12 พ.ย.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้คัดเลือกประธานคณะกรรมาธิการทั้ง 18 คณะเรียบร้อยแล้ว โดยในส่วนของคณะกรรมาธิการการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มีนายพารณ อิศรเสนา ผู้อำนวยการใหญ่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย สมาชิก สปช.เป็นประธาน ซึ่งได้มีการวางกรอบการทำงานไว้สองขั้นตอน คือ การกำหนดเนื้อหาไว้ในรัฐธรรมนูญ และการกำหนดประเด็นปฎิรูปการศึกษา โดยเรื่องการปฎิรูปการศึกษานั้นจะต้องศึกษาภาพรวมการกระจายโอกาสทางการศึกษา และการยกระดับสถานศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานมากขึ้น
       
       ทั้งนี้ ส่วนประเด็นการที่มีการเสนอให้กำหนดเรื่องโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปีอย่างมีคุณภาพบรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แต่ก็มีเสียงไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าโครงการเรียนฟรีฯ ที่ทำอยู่เป็นการเรียนฟรีที่ไม่จริงนั้น ส่วนตัวตนอยากให้มีการใส่โครงการนี้ไว้พื่อเป็นหลักประกันว่าภาครัฐต้อง จัดการศึกษาให้ทั่วถึงและเป็นธรรม แต่หากไม่ใส่ไว้ก็อาจจะมีการยกเลิกได้ และแม้จะเป็นเรื่องจริงว่าในการบริหารโครงการฯ จะไม่เรียนฟรีได้จริงทั้งหมดเพราะรัฐไม่มีงบประมาณเพียงพอ อีกทั้งไม่ได้เรียกเก็บภาษีจำนวนมากเหมือนต่างประเทศ ขณะเดียวกันประเทศไทยมีระบบการเรียนที่หลากหลาย ซึ่งโครงการเรียนฟรีอาจจะเกิดประโยชน์แค่กับคนบางกลุ่มเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐจะต้องมีหลักประกันเพื่อให้เกิดการจัดการศึกษา อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปคณะกรรมาธิการการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องทำข้อเสนอทาง ด้านการศึกษาที่จะกำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลา 60 วัน
       
       “ส่วนข้อเสนอของ รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการสภาการศึกษาที่จะให้ตั้งคณะกรรมการด้านการศึกษาชุดใหญ่ที่มีอำนาจ ดูแลการศึกษาทั้งระบบมีแนวโน้มที่เป็นได้สูงเพราะสอดคล้องกับความคิดของ สปช.ด้านการศึกษาที่เห็นว่าการศึกษาจะต้องไม่มีฝ่ายการเมืองมาแทรกแซง ฉะนั้นจะต้องมีการกำหนดเป็นนโยบายระยะยาวว่าห้ามเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้โดย บุคคล หรือการเมืองจนกว่าจะถึงเวลาอันเหมาะสมหรือต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ที่จะตั้งขึ้นมาคล้ายๆกับซูปเปอร์บอร์ดของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจาย เสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ส่วนตัวเห็นว่าอาจจะมีรัฐมนตรีจากกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และการใช้แรงงานมาเป็นกรรมการในชุดนี้ด้วย” นายกมลกล่าว

 

 

ที่มา นสพ.ผู้จัดการ