ไทย​ English   การแสดงผล
C
C
C

ข้อมูลข่าวสาร

"เรียนฟรี"ไม่มีในรัฐธรรมนูญ "กมล"กลัวถูกยกเลิกในอนาคตตัดหนทางกระจายโอกาสการศึกษา

14 พ.ย. 2557 10:12 น.

ผู้อ่าน

ภาพ เรียนฟรีไม่มีในรัฐธรรมนูญ กมลกลัวถูกยกเลิกในอนาคตตัดหนทางกระจายโอกาสการศึกษา

    ส่อไม่บรรจุเรียนฟรี 15 ปีไว้ในรัฐธรมนูญ มองที่ผ่านมาไม่สามารถทำได้จริง และอาจมีปัญหางบประมาณใอนาคต "กมล" เผยอยากผลักดันให้เขียนไว้ใน รธน.กลัวถ้าไม่เขียนไว้อาจมีการยกเลิก เชื่อมีแนวคิดที่ดี เพราะช่วยกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงและเป็นธรรม ชี้เห็นด้วยมีซูเปอร์บอร์ดดูภาพรวมการศึกษาทั้งประเทศ
    นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้คัดเลือกประธานคณะกรรมาธิการทั้ง 18 คณะเรียบร้อยแล้ว โดยในส่วนของคณะกรรมาธิการการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มีนายพารณ อิศรเสนา เป็นประธาน ซึ่งได้มีการวางกรอบการทำงานไว้สองขั้นตอน ประกอบด้วย การกำหนดเนื้อหาไว้ในรัฐธรรมนูญ และการกำหนดประเด็นปฏิรูปการศึกษา โดยเรื่องการปฏิรูปการศึกษานั้นจะต้องศึกษาภาพรวมการกระจายโอกาสทางการศึกษา และการยกระดับสถานศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานมากขึ้น 
    นายกมลกล่าวต่อไปว่า ส่วนประเด็นที่จะมีการไม่กำหนดเรื่องเรียนฟรี 15 ปี ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะเห็นว่าโครงการเรียนฟรี ไม่ได้ฟรีอย่างที่กล่าวไว้นั้น สำหรับตนแล้วยังคงอยากให้มีการบรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย เพื่อที่จะเป็นการสร้างหลักประกันว่าภาครัฐต้องดูแลจัดการศึกษาอย่างทั่วถึง เพราะหากไม่ใส่ไว้อาจจะมีการยกเลิกโครงการเรียนฟรีได้ แม้ว่าในด้านบริหารจัดการโครงการเรียนฟรีจะไม่สามารถทำให้เรียนฟรีได้จริงก็ ตาม เนื่องด้วยอาจจะเป็นเพราะรัฐไม่มีงบประมาณที่เพียงพอ อีกทั้งไม่ได้เรียกเก็บภาษีจำนวนมากเหมือนต่างประเทศ ขณะเดียวกันประเทศไทยยังมีระบบการเรียนที่หลากหลาย ซึ่งโครงการเรียนฟรีอาจจะเกิดประโยชน์กับแค่คนบางกลุ่มเท่านั้น ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐจะต้องมีหลักประกันเพื่อให้เกิดการ จัดการศึกษาอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปคณะกรรมาธิการการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องทำข้อเสนอทาง ด้านการศึกษาที่จะกำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลา 60 วัน
    ส่วนข้อเสนอของนายพินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ที่จะให้ตั้งคณะกรรมการด้านการศึกษาชุดใหญ่ที่มีอำนาจดูแลการศึกษาทั้งระบบ มีแนวโน้มที่เป็นได้สูง เพราะสอดคล้องกับความคิดของ สปช.ด้านการศึกษา ที่เห็นว่าการศึกษาจะต้องไม่มีฝ่ายการเมืองมาแทรกแซง ฉะนั้นจะต้องมีการกำหนดเป็นนโยบายระยะยาว ว่าห้ามเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้โดยบุคคลหรือฝ่ายการเมืองจนกว่าจะถึงเวลาอัน เหมาะสม หรือต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการที่จะตั้งขึ้นมา อาจจะมีลักษณะคล้ายกับซูเปอร์บอร์ดของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ส่วนตัวเห็นว่าอาจจะมีรัฐมนตรีจากกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และการใช้แรงงานมาเป็นกรรมการในชุดนี้ด้วย.

 

ที่มา นสพ.ไทยโพสต์