รมช.ศธ. (คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดศูนย์ตรวจข้อสอบอัตนัย วิชาภาษาไทย ชั้น ป.6 และขอบคุณศูนย์ตรวจทุกแห่ง ครูผู้ตรวจ และบุคลากรประจำศูนย์ทุกท่าน
4 มี.ค. 2565 12:33 น.
ผู้อ่าน
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) เป็นประธานเปิดศูนย์ตรวจข้อสอบอัตนัยวิชาภาษาไทยของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET (Ordinary National Educational Test) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (ผศ.ดร.ศิริดา บุรชาติ) กล่าวรายงานภาพรวมการสอบอัตนัยและการตรวจข้อสอบอัตนัย ประจำปีการศึกษา 2564 โดยถ่ายทอดผ่านระบบประชุมทางไกลออนไลน์ (Zoom) ณ ศูนย์ตรวจมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช โดยมีกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (รศ.ดร.มานิตย์ จุมปา) ให้การต้อนรับ
.jpg)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) กล่าวว่า ขอชื่นชม สทศ. ที่ได้ดำเนินการทดสอบด้วยข้อสอบอัตนัย ป.6 วิชาภาษาไทย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เพราะการอ่าน การเขียน และใช้วิจารณญาณ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการแสดงถึงสมรรถนะและคุณภาพการศึกษาของไทยในเวทีโลกได้ ทั้งนี้ การอ่านนับเป็นต้นทางในการเรียนรู้ของทุกวิชา เพราะฉะนั้นการอ่านออกเขียนได้อย่างมีวิจารณญาณ จึงทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้ทุ่มเทและพัฒนาระบบการตรวจโดยใช้ระบบอิเล็คทรอนิกส์เข้ามาช่วยสนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพ
.jpg)
อย่างไรก็ตาม ขอขอบคุณสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถาบันเครือข่ายที่ให้ความร่วมมือ มหาวิทยาลัยที่เป็นศูนย์ตรวจข้อสอบอัตนัยทุกแห่ง วิทยากรแกนนำ ครูผู้ตรวจ และบุคลากรประจำศูนย์ตรวจทุกท่านที่ช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยเฉพาะวิชาภาษาไทย ที่ร่วมมือร่วมแรงใจช่วยสร้างเด็กไทยให้เป็นพลเมืองในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งนอกจากการอ่านแล้ว ยังมีวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่จะเป็นตัวสะท้อนว่าการศึกษาของเราอยู่ไหนระดับใด ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ทั้งนี้ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ มีความสำคัญต่อผู้เรียน สถานศึกษา และระบบการศึกษาของประเทศไทยในการนำผลสอบไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียน
.jpg)
ผู้อำนวยการ สทศ. (ผศ.ดร.ศิริดา บุรชาติ) ได้กล่าวรายงานภาพรวมการสอบอัตนัยและตรวจข้อสอบอัตนัย ประจำปีการศึกษา 2564 โดยกล่าว่า สทศ. ได้ดําเนินการจัดการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาไทย ด้วยรูปแบบข้อสอบอัตนัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้านภาษาไทยในชั้นเรียนเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ทําให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ การสรุปใจความสําคัญ การgชื่อมโยงความคิด และการสื่อสารในรูปแบบการเขียนด้วยภาษาของตนเองได้อย่างถูกต้องมากขึ้น
ในปีการศึกษา 2564 สทศ.ได้ดําเนินการจัดการทดสอบ O-NET ชั้น ป.6 เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีกําหนดการจะประกาศผลสอบวันที่ 24 มีนาคม 2565 โดยมีการสอบอัตนัย วิชาภาษาไทย จํานวน 2 ข้อ ได้แก่ ข้อที่ 21 เป็นการเขียนเรื่องจากภาพ และ ข้อที่ 22 การสรุปใจความสําคัญของบทอ่าน ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ สาระที่ 2 การเขียน เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน เขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์ และเขียนสื่อสารโดยใช้คําได้ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสม โดยรายละเอียดต่าง ๆ ได้เผยแพร่ทางเว็บไซต์ สทศ.
.jpg)
ในการดําเนินการตรวจข้อสอบอัตนัยครั้งนี้ สทศ. ได้ดําเนินการร่วมกับสถาบันภาษาไทยสิรินธร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการจัดทําหลักสูตรการอบรมและเกณฑ์การตรวจ ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการสนับสนุนอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาไทยมาเป็นวิทยากรประจําศูนย์ตรวจข้อสอบอัตนัย ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษา ทั่วประเทศในการส่งครูเข้าร่วมการอบรมพัฒนาเป็นผู้ตรวจข้อสอบอัตนัย และได้รับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง ประกอบด้วย ม.สุโขทัยธรรมาธิราช ม.บูรพา ม.ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ ม.สงขลานครินทร์ และม.วลัยลักษณ์ ในการเป็นศูนย์ตรวจและส่งบุคคลากรมาช่วยดําเนินการต่าง ๆ ภายในศูนย์ตรวจในครั้งนี้ โดยมีกําหนดการตรวจกระดาษคําตอบอัตนัย ระหว่างวันที่ 3 มีนาคม – 12 มีนาคม 2565 รวมระยะเวลา 10 วัน
.jpg)
ในการดําเนินการตรวจข้อสอบอัตนัยวิชาภาษาไทย ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สทศ. ได้ดําเนินการตามมาตรการป้องกันตามที่กระทรวงสาธารณสุขและสาธารณสุขแต่ละจังหวัดกําหนดอย่างเคร่งครัด และได้มีตัวแทนจากศูนย์อนามัยที่รับผิดชอบแต่ละจังหวัดที่มีการตรวจอัตนัย มาเป็นคณะทํางานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อฯ ในแต่ละศูนย์ตรวจ
นอกจากนี้ สทศ. ได้กําหนดมาตรการป้องกันฯ และมีการตรวจ ATK ก่อนเข้าที่พัก ระหว่างตรวจ และเมื่อสิ้นสุดการตรวจก่อนเดินทางกลับภูมิลําเนาให้กับทุกคน ประสานโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยที่เป็นศูนย์ตรวจ และโรงพยาบาลของรัฐเพื่อรองรับกรณีมีเหตุฉุกเฉิน ผู้ปฏิบัติงานประจําศูนย์ตรวจต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันฯ อย่างเคร่งครัด

.jpg)