ไทย​ English   การแสดงผล
C
C
C

ข้อมูลข่าวสาร

รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

2 ก.ย. 2565 15:30 น.

ผู้อ่าน

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

เนื่องในวันที่ 3 กันยายน 2565 เป็นวันครบรอบ 17 ปี ของการจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โดยในปีนี้ สทศ. ได้จัดกิจกรรมภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย” (Challenges of Educational Measurement and Evaluation: World and Thailand) ในวันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 และได้รับเกียรติจากท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา  โสภณพนิช) เป็นประธานพิธีเปิด ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม Century Park กรุงเทพฯ

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา  โสภณพนิช) กล่าวว่า ขอชื่นชมการดำเนินงานของ สทศ. ซึ่งจะเห็นได้ว่า ภายใต้สถานการณ์โควิดตลอด 3 ปีที่ผ่านมา สทศ. สามารถดำเนินการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติให้กับนักเรียนผู้เข้าสอบกว่าล้านคน ซึ่งดำเนินการทดสอบได้อย่างมีมาตรฐานเท่าเทียมกันทั่วประเทศ  โดยการทดสอบของ สทศ. เป็นการทดสอบให้กับทุกคน ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ ซึ่งการทดสอบ O-NET จัดสอบให้กับนักเรียนทุกคน โดยชั้น ป.6 ม.3 สอบ 4 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ส่วนชั้น ม.6 จัดสอบ 5 วิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษาฯ เพื่อจะได้ทราบว่าตนเองอยู่ในระดับใดของประเทศ ซึ่งปัจจุบันนี้ สทศ. ได้เพิ่มการทดสอบจากรูปแบบข้อสอบปรนัยสู่ข้อสอบอัตนัย และได้พัฒนาเทคนิคการทดสอบความรู้แบบออนไลน์ผ่านเครื่องมือที่หลากหลายรูปแบบ เช่น Notebook Tablet หรือ โทรศัพท์มือถือ ซึ่งทำให้นักเรียนสามารถเข้ารับการทดสอบได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถพัฒนาตนเองได้สะดวกมากขึ้น นอกจากนี้ ได้เพิ่มโจทย์ให้ สทศ. โดยสอบวัดความรู้อย่างเดียวไม่พอ แต่ได้ฝากให้ สทศ. ดำเนินการทดสอบสมรรถนะและความเป็นคนไทย สร้างเครื่องมือหรือเทคนิคในการทดสอบ เพื่อสร้างให้คนไทยมีความสุข มีคุณภาพชีวิต และสามารถแข่งขันได้ รองรับคนที่จะเข้าสู่แรงงานในอนาคต ประเทศเราจึงจำเป็นต้องสร้างคนที่มีทักษะ 6 ทักษะที่โลกในยุคดิจิทัลต้องการ        

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (ผศ.ดร.ศิริดา บุรชาติ) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน โดยกล่าวว่า การจัดงานในวันนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ (1) รับรู้และเข้าใจการปฏิบัติงานและผลงานที่ผ่านมาของ สทศ. (2) เข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของโลกและของไทย และ (3) รับรู้และร่วมดำเนินการตามทิศทางของ สทศ. เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลทางการศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล แผนยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายของคณะกรรมการ สทศ. ทั้งนี้ ในการดำเนินงานของ สทศ. ที่ผ่านมา แบ่งได้เป็น 5 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะที่ 1 เกี่ยวกับ “ประเภทการสอบ” สทศ. เริ่มให้บริการการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 เป็นต้นมา ต่อมามีการเพิ่มประเภทการสอบออกไปให้ครอบคลุมหลักสูตร อาทิ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-NET) ด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ด้านอิสลามศึกษา (I-NET) ด้านพระปริยัติธรรม (B-NET) และด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ซึ่งผู้เข้ารับการทดสอบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น  นอกจากนี้ สทศ. ยังให้บริการการทดสอบวัดสมรรถนะครูทางด้านการวัดและประเมินผล และการทดสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการทำงาน หรือเรียนโดยย่อ (TEC-W) ตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR และบริการสร้างและจัดสอบให้กับหน่วยงานภายนอกอื่น ๆ  ด้วย โดยในการสอบประเภทต่าง ๆ มีนักเรียนและผู้เข้าสอบในแต่ละปีจำนวนกว่า 2 ล้านคน ลักษณะที่ 2 เกี่ยวกับ “การสร้างเครื่องมือวัด” สทศ. มีพัฒนาการการสร้างเครื่องมือวัด หรือเรียกว่าข้อสอบ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรในแต่ละประเภทการสอบ และสอดคล้องกับองค์ความรู้ด้านการวัดและประเมินผลที่เปลี่ยนแปลงไป ในศตวรรษที่ 21 และทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น การสอบอัตนัย วิชาภาษาไทย ในระดับชั้น ป.6 และในปี พ.ศ. 2566 มีการทดสอบอัตนัยวิชาภาษาไทย ระดับชั้น ม.3  ลักษณะที่ 3 เกี่ยวกับ “รูปแบบการสอบ” สทศ.เพิ่มรูปแบบการทดสอบจากกระดาษไปสู่การสอบด้วยระบบดิจิทัล 100 % ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านพระพุทธศาสนา (B-NET) ในปี พ.ศ. 2565 และนำร่องการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้น ป.6 ม.3 ในดรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 5 แห่ง 4 ภูมิภาค และมีแผนที่จะขยายไปสู่การทดสอบประเภทอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต ลักษณะที่ 4 เกี่ยวกับ “ศูนย์สอบ สนามสอบ” สทศ. มีการขยายพื้นที่ในการเป็นศูนย์สอบและสนามสอบ ในการทดสอบประเภทต่าง ๆ โดยพยายามให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ไม่เว้นแม้พื้นที่ห่างไกล เช่น โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในเรือนจำ และพื้นที่ถิ่นทุรกันดาน และ ลักษณะที่ 5 เกี่ยวกับ“การรายงานผลการทดสอบ” สทศ. มีการออกใบรายงานผลการทดสอบผ่านระบบดิจิทัล มีการจัดทำใบรายงานผลการทดสอบ จำแนกตาม 1) รายบุคคล 2) รายโรงเรียน 3) เขตพื้นที่การศึกษา 4) ศึกษาธิการจังหวัด 5) ศึกษาธิการภาค และ 6) ประเทศ รายสังกัด เขตพื้นที่ ในเมือง นอกเมือง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการให้ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มผู้ต้องการใช้ผลคะแนน และในวันนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่ สทศ. ได้จัดงานครบรอบ 17 ปี ของการจัดตั้ง สทศ. เป็นช่วงเวลาที่จะได้รับฟังแนวคิดและทิศทางของการวัดและประเมินผลทางการศึกษาของไทย โดยได้รับเกียรติจากท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ซึ่งเป็นรัฐมนตรีที่กำกับดูแล สทศ. โดยตรงมากว่า 3 ปี ท่านรับทราบและเข้าใจพัฒนาการของ สทศ. เป็นอย่างดี ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธี และในการจัดงานในวันนี้ยังได้รับเกียรติจากท่านประธานกรรมการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (นายกิตติรัตน์ มังคละคีรี) มาเล่าถึงบทบาทและทิศทางในอนาคตของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในนามคณะกรรมการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติที่มีหน้าที่ในการควบคุมดูแล สทศ. ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ประธานกรรมการ สทศ. (นายกิตติรัตน์  มังคละคีรี) กล่าวถึงบทบาทและทิศทางในอนาคตของ สทศ. ว่า การจัดงานครบรอบ 17 ปีของการจัดตั้ง สทศ. นับเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงทิศทางที่ สทศ. บุคลากรของ สทศ. และผู้รับบริการ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับ สทศ. จะได้เห็นถึงบทบาทและทิศทางในอนาคต และใช้เป็นแนวทางในการเดินทางไปยังเป้าหมายหรือทิศทางที่เราจะมุ่งไป อันมีมาตรฐานการวัดและประเมินผลทางการศึกษาระดับชาติที่มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล และเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายของคณะกรรมการ สทศ. เป็นสำคัญ การดำเนินงานตลอด 17 ปีที่ผ่านมา สทศ. พยายามปฏิบัติภารกิจอันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะให้ “ครอบคลุม” ตามที่กฎหมายจัดตั้งกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งในแง่ของภารกิจ ในแง่ของปริมาณและคุณภาพ ในแง่ของการเข้าถึงพื้นที่และการเข้าถึงข้อมูลในการให้บริการของ สทศ. ซึ่งส่วนตัวผมเองเห็นว่า สทศ. เดินทางมาได้ไกลพอสมควร แต่ สทศ. จำเป็นต้องเดินทางต่อไปอย่างมั่นคงและมีทิศทาง และในปีนี้ สทศ. ได้จัดกิจกรรมภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย” และคลื่นความเปลี่ยนแปลงนี้ สทศ. นำมาเป็นความท้าทายในมิติต่าง ๆ ของการปฏิบัติภารกิจ เช่น การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทดสอบจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการจากทำนองระบบอนาล็อกสู่ระบบดิจิทัล การเพิ่มระบบรายงานผลการทดสอบจากระบบกระดาษสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการการขอดูกระดาษคำตอบจากระบบการดูด้วยตนเองสู่ระบบการดูผ่านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น นอกจากนี้ สทศ. ยังแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกประเทศ อันเป็นการหน้าที่ศูนย์กลางความร่วมมือด้านการทดสอบตามที่กฎหมายให้หน้าที่และอำนาจไว้ ทั้งเพื่อเป็นการสื่อสารและสร้างเครือข่ายให้ สทศ. เป็นศูนย์กลางด้านการวัดและประเมินผลทางการศึกษาระดับชาติและนานาชาติต่อไป

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

นอกจากนี้ ภายในงานมีกิจกรรมการเปิดตัวระบบการใช้งานระบบการทดสอบออนไลน์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) การนำเสนอผลงานของโรงเรียนด้านการนำผลสอบ O-NET ไปยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนจาก (1) โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย จ.เพชรบุรี (2) โรงเรียนศิริสาธิต จ.สุราษฎร์ธานี (3) โรงเรียนวัดป่าประดู่ จ.ระยองและมีพิธีการมอบโล่รางวัลให้แก่โรงเรียนและหน่วยงานที่มีพัฒนาการผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) โดยแบ่งตามประเภทรางวัล ดังนี้ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับยอดเยี่ยม จำนวน 8 รางวัล การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)  ระดับดีเลิศ จำนวน 36 รางวัล การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาภาษาไทย รูปแบบอัตนัย จำนวน 3 รางวัล การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) จำนวน 2 รางวัล การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านพระพุทธศาสนา (B-NET) จำนวน 1 รางวัล การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอิสลามศึกษา (I-NET) จำนวน 3 รางวัล การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ระดับ ปวช.3 จำนวน 3 รางวัล (ดูรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับรางวัล) 

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

และในช่วงท้าย ประธานฯ ได้เดินเยี่ยมชมบูธนิทรรศการของโรงเรียนที่มีพัฒนาการผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จำนวน 8 โรง ประกอบด้วย (1) โรงเรียนศิริสาธิต จ.สุราษฎร์ธานี (2) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) กรุงเทพฯ (3) โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดกระพังสุรินทร์) จ.ตรัง (4) โรงเรียนวัดป่าประดู่ จ.ระยอง (5) โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย จ.นครศรีธรรมราช (6) โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย จ.เพชรบุรี (7) โรงเรียนบ้านโนนจาน (เนตรขันธ์ราษฎร์บำรุง) จ.ชัยภูมิ (8) โรงเรียนวาสุเทวี กรุงเทพฯ

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”

ภาพ รมช.ศธ. (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) ประธานเปิดงาน “ครบรอบ 17 ปี สทศ.” ภายใต้แนวคิด “คลื่นความท้าทายใหม่การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: บริบทโลกบริบทไทย”