ไทย​ English   การแสดงผล
C
C
C

ข้อมูลข่าวสาร

สทศ. จัดการทดสอบ O-NET ป.6 ด้วยระบบ Digital Testing สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) “Anywhere Anytime”

10 ก.พ. 2567 13:00 น.

ผู้อ่าน

ภาพ  สทศ. จัดการทดสอบ O-NET ป.6 ด้วยระบบ Digital Testing สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน  ชิดชอบ) “Anywhere Anytime”
 
วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริดา  บุรชาติ)  ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (ดร.ชนาธิป  ทุ้ยแป) ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร (นางวรางคณา ไชยเรือน) และคณะ ได้ตรวจเยี่ยมสนามสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test : O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 ณ สนามสอบโรงเรียนพญาไท มีจำนวนผู้มีสิทธิ์สอบ 232 คน แบ่งเป็น การทดสอบด้วยรูปแบบกระดาษ (Paper Pencil) จำนวน 112 คน และทดสอบด้วยระบบการทดสอบดิจิทัล (Digital Testing) จำนวน 120 คน โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียนพญาไท (ดร.พีรานุช ไชยพิเดช) และคณะครูให้การต้อนรับ 
 
สำหรับการทดสอบ O-NET สทศ. ดำเนินการทดสอบ 2 รูปแบบ คือ การทดสอบด้วยรูปแบบกระดาษ (Paper Pencil) และการทดสอบด้วยระบบดิจิทัล (Digital Testing) สำหรับสนามสอบที่มีความพร้อมด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักการศึกษาเมืองพัทยา ทำหน้าที่เป็นศูนย์สอบ 
  • การทดสอบด้วยรูปแบบกระดาษ (Paper Pencil) ผู้มีสิทธิ์สอบ 692,733 คน มีสนามสอบ 4,765 สนาม ห้องสอบ 25,437 ห้อง
  • การทดสอบด้วยระบบการทดสอบดิจิทัล (Digital Testing) ผู้มีสิทธิ์สอบ 2,124 คน มีสนามสอบ 67 สนาม ห้องสอบ 87 ห้องสอบ

ภาพ  สทศ. จัดการทดสอบ O-NET ป.6 ด้วยระบบ Digital Testing สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน  ชิดชอบ) “Anywhere Anytime”

การทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 สอบจำนวน 4 วิชา ประกอบด้วย ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 
  • วิชาภาษาไทย มีจำนวนข้อสอบ 22 ข้อ เป็นรูปแบบปรนัย 20 ข้อ และรูปแบบอัตนัย 2 ข้อ (การเขียนเรื่องจากภาพ และการสรุปใจความสำคัญของบทอ่าน) เน้นวัดมาตรฐานความสามารถในการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ การจับใจความสำคัญ และการเชื่อมโยงความคิด 
  • วิชาคณิตศาสตร์ มีจำนวนข้อสอบ 15 ข้อ เป็นแบบปรนัย 11 ข้อ และเป็นการระบายคำตอบและเขียนคำตอบ 4 ข้อ
  • วิชาวิทยาศาสตร์ มีจำนวนข้อสอบ 20 ข้อ เป็นปรนัย 18 ข้อ และเป็นการเลือกตอบเชิงซ้อน 2 ข้อ 
  • วิชาภาษาอังกฤษ มีจำนวนข้อสอบ 32 ข้อ เป็นรูปแบบปรนัย 

 

ภาพ  สทศ. จัดการทดสอบ O-NET ป.6 ด้วยระบบ Digital Testing สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน  ชิดชอบ) “Anywhere Anytime”
 
 
สทศ. ได้ดำเนินการตามพันธกิจซึ่งสอดคล้องกับจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการและนโยบาย “เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime)” ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน  ชิดชอบ) โดย สทศ. ได้พัฒนาระบบการตรวจข้อสอบอัตนัยในรูปแบบออนไลน์ และในปีนี้ได้นำมาใช้ตรวจข้อสอบอัตนัยชั้น ป.6 เต็มรูปแบบ ภายหลังประกาศผลการทดสอบ สทศ. ได้จัดทำรายงานข้อค้นพบจากการทดสอบ O-NET ด้วยข้อสอบรูปแบบอัตนัยเผยแพร่ทางเว็บไซต์ สทศ. เพื่อให้โรงเรียน นักเรียน และผู้ที่สนใจสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผลการทดสอบ และเป็นการส่งเสริมให้ครูผู้สอนได้ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยด้านการอ่านและการเขียน ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทย
 
ภาพ  สทศ. จัดการทดสอบ O-NET ป.6 ด้วยระบบ Digital Testing สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน  ชิดชอบ) “Anywhere Anytime”
 
นอกจากนี้ สทศ. ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการนำผลการทดสอบ O-NET ไปใช้พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนโดยจัดการอบรมให้กับผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ ในรูปแบบ Online และ Onsite เน้นให้ความรู้ พาคิด พาทำ การวิเคราะห์ผังการสร้างแบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อสอบ การสร้างข้อสอบที่มีคุณภาพ และการนำข้อมูลสารสนเทศจากใบรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และยกระดับคุณภาพการศึกษาได้สทศ. มีระบบการทดสอบออนไลน์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดยให้บริการนักเรียนและผู้ที่สนใจได้ทดสอบวัดความรู้ ทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา เพื่อให้ทราบถึงจุดเด่น จุดที่ต้องพัฒนา และสามารถนำมาวางแผนการเรียนในอนาคตได้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://onettesting.niets.or.th/  นอกจากนี้ สทศ. มีระบบการอบรมการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ สำหรับการสร้างข้อสอบบนระบบ National Digital Testing Platform 17 รูปแบบ เพื่อให้ผู้รับการอบรมนำไปประยุกต์ใช้ในการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://niets.e-learning.froggenius.com/
 
ทั้งนี้ สทศ. มีกำหนดการประกาศผลสอบในวันที่ 27 มีนาคม 2567 โดยได้จัดทำรายงานผลการทดสอบ O-NET และข้อมูลสารสนเทศแบบรายบุคคล ระดับโรงเรียน ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ระดับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ระดับสำนักงานศึกษาธิการภาค ระดับสังกัด และระดับประเทศ  รวมถึงรายงานข้อค้นพบที่ได้จากการตรวจข้อสอบอัตนัย ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.niets.or.th   
 
ภาพ  สทศ. จัดการทดสอบ O-NET ป.6 ด้วยระบบ Digital Testing สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน  ชิดชอบ) “Anywhere Anytime”