ไทย​ English   การแสดงผล
C
C
C

ข้อมูลข่าวสาร

การศึกษาชาติ รู้ปัญหาต้องเร่งผ่าตัด

27 ส.ค. 2556 10:54 น.

ผู้อ่าน

การศึกษาชาติ รู้ปัญหาต้องเร่งผ่าตัด

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2556 เวลา 00:00 น.

เหตุที่คุณภาพการศึกษาของชาติยังก้าวไปไม่ถึงไหน เชื่อว่าทุกฝ่ายคงจะทราบดี ซึ่งสาเหตุหลักที่หลายฝ่ายพุ่งเป้าไปคงหนีไม่พ้นการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่า การกระทรวงศึกษาธิการบ่อยครั้งจนเกินไป เมื่อคนเปลี่ยนนโยบายก็เปลี่ยนเริ่มนับหนึ่งกันใหม่อยู่ร่ำไป ซึ่งเหตุผลที่ว่านี้ถ้าจะให้ตรงประเด็นมากขึ้นก็คงต้องรวมถึงความรู้ ความเข้าใจกับการจัดการศึกษาของผู้มีอำนาจเหล่านั้นด้วย เพราะหากรัฐมนตรีดูแลการศึกษาไม่เข้าใจถึงยุทธศาสตร์การใช้การศึกษาเป็น เครื่องมือพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและรู้ลึกความเป็นจริงว่าการศึกษาเป็นงาน สำคัญ งานใหญ่ งานหนักเห็นผลช้าด้วยแล้ว การกำหนดนโยบายอาจพาให้ผู้ปฏิบัติหลงทางได้ โดยเฉพาะการเร่งรีบหาผลงานด้วยการกำหนดสารพัดโครงการแล้วต้องการให้เกิดผล อย่างรวดเร็วนั้นถือว่าผิดธรรมชาติกับความยากของการพัฒนาคน สุดท้ายก็จะได้แค่เปลือกภายนอก ที่พูดเช่นนี้ก็เพื่ออยากชี้ให้เห็นว่าการที่กระทรวงศึกษาธิการได้ นายจาตุรนต์ ฉายแสง มาเป็นรัฐมนตรีก็น่าจะถูกฝาถูกตัวอยู่ไม่ใช่น้อย เพราะดูจากแนวคิดการแก้ปัญหาการศึกษาในหลายเรื่องถือว่าเกาถูกที่คัน อาทิ เรื่องการสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วยวิธีการรับตรงเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปการ เรียนรู้ วิธีคิดการจัดสรรงบประมาณค่ารายหัวเด็กใหม่ การโยกย้ายผู้บริหารให้ใช้คุณภาพเด็กเป็นเกณฑ์ การให้ความสำคัญการปฏิรูปการสอนของครูมากกว่าการปรับโครงสร้างของหน่วยงาน รวมถึงนโยบาย 8 ข้อที่กำหนดขึ้นมา เป็นต้น จึงน่าจะเชื่อเบื้องต้นได้ว่าเป็นผู้รู้ต้นตอปัญหาการศึกษาของชาติจริง เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นจึงจะขอขยายความตัวอย่างบางเรื่องให้เห็น ว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาบุคลากรของชาติให้เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข อย่างไร

เรื่องการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หากตราบใดยังเน้นแต่เนื้อหาวิชาการโดยไม่คำนึงถึงเป้าหมายหลักสูตรเพื่อให้ เด็กเก่ง ดี มีความสุข มาใช้ตัดสินด้วยแล้ว ปัญหาที่ตามมาเด็กจะขาดความใส่ใจกับการเรียนรู้ตามหลักสูตร ยิ่งมีการรับตรงก่อนเรียนจบหลักสูตรด้วยแล้ว เด็กจะให้ความสำคัญสูงสุดอยู่กับการติว การเรียนพิเศษ จนกลายเป็นเรื่องจำเป็นกับการเรียนรู้ไปแล้ว ทำให้การสอนพิเศษเติบโตเป็นธุรกิจหลายหมื่นล้านให้มอดหากินกับเด็กร่ำรวยไป แล้วจำนวนมาก ส่วนนี้ไม่เว้นแม้แต่ครูบางคนที่อาศัยกระแสนี้หาประโยชน์กับเด็กไปด้วยโดย การกั๊กเนื้อหาสำคัญไว้สอนพิเศษเพื่อเด็กต้องมาเรียนพิเศษกับตนเอง ต้นตอนี้ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนไม่เช่นนั้นการที่จะเห็นเด็กเก่ง ดี มีความสุขตามศักยภาพนั้นคงเกิดได้ยาก ที่ว่าเช่นนี้ก็เพราะปัจจุบันทั้งผู้เรียนและผู้ปกครองส่วนใหญ่เกิดเจตคติ กับการเรียนอยู่กับการ     เข้ามหาวิทยาลัย มีเป้าหมายอยู่ที่ปริญญาโดยไม่สนใจว่าตนเองมีศักยภาพด้านใด ครอบครัวมีฐานอาชีพเดิมที่น่าพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่มอย่างไรบ้างหรือต้อง การพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น เมื่อการเรียนรู้มุ่งที่อาชีพ งานสบาย สุดท้ายก็มาแย่งกันเป็นมนุษย์เงินเดือนแต่งานหนักไม่เอางานเบาไม่สู้ หากแนวคิดยังเป็นเช่นนี้ การที่ประเทศชาติจะได้บุคลากรที่มีความสามารถหลากหลายเพื่อมาเป็นฟันเฟือง เครื่องจักรพัฒนาประเทศชาติก็คงหายากขึ้น

เรื่องหลักสูตรการศึกษาที่มีการปรับปรุงอยู่ขณะนี้ อยากให้ผู้ดำเนินการรู้และเข้าใจถึงคุณภาพชีวิตเด็กแต่ละกลุ่มแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งกลุ่มปลายยอดที่มุ่งไปสู่ความเป็นเลิศและกลุ่มฐาน ซึ่งเป็นผู้คนระดับรากหญ้าที่ต้องการให้ชีวิตพ้นจากวงจร โง่ จน ดังนั้นต้องใช้หลักสูตรอย่างไรพัฒนาในแต่ละกลุ่มถึงจะได้ผล แต่ทั้งหมดจะต้อง    ไม่ลืมความเป็นไทยทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี อาชีพดั้งเดิมกับความอุดมสมบูรณ์ตามทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ต่างชาติเขาเห็นคุณค่าอยากมาเยี่ยมชมและร่วมอนุรักษ์ไว้ แต่คนไทยรุ่น    ใหม่เริ่มมองผ่านเห็นคุณค่าน้อยลง ทั้งที่เป็น สิ่งที่จะสร้างชื่อเสียงและสร้างอาชีพให้กับประชาชนทั้งสิ้น และหลักสูตรที่ดีนั้นจะต้องสามารถนำไปใช้ได้จริง ไม่ใช่เน้นอยู่แต่หลักการวิธีการใช้อยู่บนเอกสารไว้ให้ตรวจหรือประเมินกัน เท่านั้นเพราะหากเป็นอย่างนี้ก็คงไม่มีประโยชน์

เรื่องการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้  ส่วนนี้คงจะต้องเร่งผ่าตัดเช่นกันด้วยเป็นหัวใจของการพัฒนา แม้เรื่องนี้จะเคยดำเนินการมาแล้ว หมดงบประมาณไปก็มาก เกิดแม่ไก่ ลูกไก่ และ Best Practices ออกมาโชว์จนกลายเป็นเรื่องธรรมดา แต่ครูจำนวนไม่น้อยก็ยังไม่ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน จากข้ออ้างสารพัดทั้งฟังขึ้นและไม่ขึ้นที่มีเหตุผลก็คือ กลุ่มที่อยู่โรงเรียนครูขาดแคลนต้องสอน   หลายวิชาหลายชั้นแถมมีสารพัดงานให้ทำจึงไม่มีเวลาไปคิดออกแบบจัดกิจกรรมการ เรียนรู้    ตามหลักสูตรกำหนด แต่ที่ฟังไม่ค่อยขึ้นก็คือกลุ่มที่อยู่โรงเรียนมีความพร้อมแต่ยังใช้วิธีการ สอนแบบเดิม ๆ ซึ่งการอ้างว่ามีงานอื่น ๆ ให้ทำมากก็พอทำเนา แต่กับบางคนที่ไม่ใส่ใจหรือคิดว่าสอนแบบเดิมเด็กก็สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้โดย ไม่ได้คำนึงถึงเป้าหมายให้เด็กเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข ซึ่งวิธีคิดเช่นนี้ต้อง    เร่งแก้ไข มิฉะนั้นจะทำให้เด็กเสียโอกาส  พัฒนาด้านอื่นไป ซึ่งปัญหาที่ว่านี้ก็เกิดมา    จากผู้บริหารด้วยที่มีจำนวนไม่น้อยไม่ค่อยใส่ใจกับงานวิชาการ ไม่ค่อยนิเทศการสอน  ของครูมุ่งอยู่กับงานอื่นโดยเฉพาะงานนอกโรงเรียน เมื่อผู้บริหารไม่สนใจหรือไม่กล้านิเทศ ครูก็สอนไปตามที่ตนเองถนัด เครื่องจักรหมุนไปคนละทิศละทางเช่นนี้คุณภาพเด็กก็คงไม่ต้องพูดถึง ปัญหานี้จึงต้องแก้ไขกัน     ทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มครูให้เพียงพอกับการสอนเร่งพัฒนาให้ครูมีใจเพื่อ เด็ก      การไปใช้วิธีจับครูมาอบรมหรือทำข้อสอบเนื้อหาความรู้อย่างที่ผ่านมาคงไม่ได้ ผล ที่สำคัญต้องพัฒนาใจให้มีคุณธรรมและอุดม การณ์เพื่อเด็กเท่านั้นถึงจะเกิดผล ที่สำคัญ  น่าจะต้องมีกฎกติกาในการปฏิบัติงานเพิ่ม  คุณให้โทษกับผลการปฏิบัติงาน ไม่ใช่ว่า สอนหรือทำงานอย่างไรก็ได้เด็กจะมีคุณภาพหรือไม่ก็ยังได้เงินเดือนเพิ่มปีละ ขั้นครึ่งเป็นอย่างต่ำ หรือผู้บริหารมีโทษแค่ไม่ให้ย้ายไปโรงเรียนใหญ่ขึ้นแค่นี้คงไปเทียบกับผล    กระทบที่เกิดขึ้นแก่อนาคตชีวิตเด็กจำนวนมากคงไม่ได้

เรื่องงบประมาณที่นอกจากจะปรับวิธีการจัดสรรค่ารายหัวเด็กใหม่แล้ว ควรจัดเงินก้อนให้โรงเรียนขนาดเล็กเพราะการที่จะรอให้ชุมชนมาช่วยอุปถัมภ์คง เป็นเรื่องยากและควรปรับวิธีคิดการขอจัดตั้งงบประมาณกันใหม่ เพราะการให้ส่วนกลางเป็นผู้คิดโครงการแทนพื้นที่นั้นคงไม่สามารถตอบโจทย์การ แก้ปัญหาและความต้องการของแต่ละพื้นที่ได้ แล้วยังทำผิดบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดที่ต้องการให้ท้องถิ่นเป็นผู้คิดและ ดำเนินการ หากยังใช้วิธีการเดิม ๆ นอกจากจะไม่สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาได้ตรงจุดแล้วยังสร้างภาระงานให้ครูอย่าง มากมายจนกระทบกับงานสอนและเป็นการใช้งบประมาณที่ไม่คุ้มค่าไปด้วย

จากตัวอย่างที่นำเสนอเพียงบางส่วนนี้ผู้เขียนไม่ใช่เป็นผู้รู้ แต่เป็นผู้เห็นบริบทของแต่ละพื้นที่มามากจึงอยากให้ผู้รู้โดยเฉพาะผู้มี อำนาจได้เห็นบ้างจะได้สะสางอุปสรรคของการพัฒนาคุณภาพเด็กให้หมดไป ซึ่งปัญหาทั้งหลายเหล่านี้จะหมดไปได้นั้นคงจะสวยหรูอยู่แค่คำพูดหรือนโยบาย อย่างเดียวคงไม่เกิดผล ตอนนี้จึงเหลืออยู่แค่การปฏิบัติจริงว่าจะเกิดเป็นรูปธรรมขนาดไหน สิ่งนี้แหละครับที่กำลังรอพิสูจน์ฝีมือนายจาตุรนต์ ฉายแสง บุคคลที่ผู้เขียนแอ่นอกรับไว้ตั้งแต่ต้นว่าเป็นผู้รู้เข้าใจกับยุทธศาสตร์ การจัดการศึกษาของชาติอย่างแท้จริงว่าจะมีฝีมือแท้จริงอย่างที่ผู้เขียน เชื่อด้วยหรือไม่.

 

เครดิต นสพ.เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/education/228684