ไทย​ English   การแสดงผล
C
C
C

ข้อมูลข่าวสาร

บอร์ด กพฐ.แนะทบทวนสอบวัดผลกลาง 70:30

3 ม.ค. 2557 10:53 น.

ผู้อ่าน

ภาพ บอร์ด กพฐ.แนะทบทวนสอบวัดผลกลาง 70:30

     นายสุรัฐ ศิลปอนันต์ ประธานกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิด เผยว่า จากการประชุมบอร์ด กพฐ.เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาถึงแนวคิดในการจัดสอบวัดผลกลางนักเรียนระดับการ ศึกษาขั้นพื้นฐานในสัดส่วนเรื่อง 70:30 โดย 70% เป็นคะแนนเก็บ คะแนนจิตพิสัย ส่วนอีก 30% เป็นข้อสอบกลางโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 15% และโดยโรงเรียนหรือเขตพื้นที่การศึกษา 15% นั้น

     ที่ประชุมไม่ได้สรุปว่าเห็นด้วยหรือไม่ แต่ได้แสดงความห่วงใยว่า การมีข้อสอบส่วนกลาง หรือการที่ส่วนกลางเข้าไปมีบทบาทแม้จะเพียง15% ของคะแนนทั้งหมดนั้น ควรคิดกันให้รอบคอบ ว่าส่วนกลางจะเข้าไปมีอิทธิพลครอบงำหรือครอบคลุมการปฏิบัติงานในระดับ พื้นที่ หรือโรงเรียนมากเกินไปโดยไม่จำเป็นหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาคุณภาพการเรียนการสอนในมุมหนึ่งที่ไม่ได้ผล เพราะอิทธิพลจากข้างนอก เช่น ข้อสอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ที่การวัดและประเมินผลจากภายนอกไปมีอิทธิพลต่อการเรียนการสอนมากจน ทำให้ครูอาจารย์มุ่งแต่จะทำให้ได้ผลเท่ากับการสอบภายนอก เพราะนอกจากเป็นคุณภาพของนักเรียนแล้วยังหมายถึงผลงานของครูด้วย จึงมีแนวโน้มว่าครูจะทุ่มไปสู่คะแนน และการสอบ จนเกรงว่าเมื่อมีการทดสอบผ่านไปแล้ว ครูจะยังคงมุ่งต่อไปอีกหรือไม่

     ประธานบอร์ด กพฐ.กล่าวต่อไปว่า ทางสพฐ.ได้ชี้แจงว่า การที่ส่วนกลางประสงค์จะมีในการประเมินนักเรียนด้วยนั้น มีเหตุผลหลายประการ 1.ในฐานะที่ส่วนกลางเป็นกลไลกลางของรัฐ มีหน้าที่ในการสร้างเสริมคุณภาพและมาตรฐาน จึงควรมีส่วนดูแลคุณภาพและมาตรฐานด้วย แต่มั่นใจว่าส่วนกลางจะไม่มีอิทธิพลที่จะทำให้จุดเน้นของการประเมินเฉไฉไป ได้ เพราะเป็นเพียงส่วนน้อยมาก 2.เนื่องจากที่ผ่านมาเรามีความรู้สึกว่าเรื่องการสร้างแบบวัดผลของครูยังไม่ เต็มที่เท่าที่ควร ดังนั้นจึงต้องการทำโครงการนี้เป็นโครงการนำร่อง เป็นการพัฒนาครูอาจารย์ไปในตัว

     และ 3.โดยกฎหมาย การทำภารกิจด้านการศึกษาของชาติ ต้องการทำให้เกิดความมั่นใจว่าคุณภาพจะเกิด และเกิดได้ในระดับมาตรฐานที่ประสงค์ การที่ให้ส่วนกลางเข้าไปมีบทส่วนหนึ่งจึงเป็นวิธีการที่ทำให้มีผลบังคับไปใน ตัวที่ฝ่ายปฏิบัติต้องทำให้ถูกต้อง เหมาะสมและได้ผล โดยแนวทางที่ทำนั้นจะเป็นการเติมเต็มไม่ใช่การครอบงำ

     "อย่างไรก็ตาม โดยหลักการแล้ว เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องนำมาเข้าบอร์ด กพฐ. เพราะอยู่ที่การตัดสินใจของ รมว.ศึกษาธิการ แต่เมื่อนำเข้ามาแล้วบอร์ด กพฐ. ก็ได้ให้ข้อสังเกตและแสดงความห่วงใย ดังนั้นจึงขอให้ สพฐ.กลับไปทบทวนแนวคิดและแนวทางการประเมินดังกล่าวอย่างรอบคอบอีกครั้ง โดยนำข้อห่วงใยไปพิจารณาด้วย รวมถึงให้คิดด้วยว่าที่กำหนดให้เริ่มใช้ในปีการศึกษา 2557 ที่จะถึงนี้จะเร็วเกินไปหรือไม่" นายสุรัฐ กล่าว

 

เครดิต นสพ.สยามรัฐ