ไทย​ English   การแสดงผล
C
C
C

ข้อมูลข่าวสาร

สพฐ.ชง คสช.ปรับโครงสร้าง - แก้ กม.โยกย้ายบุคลากรไม่ต้องผ่าน ก.ค.ศ.

30 ก.ค. 2557 11:04 น.

ผู้อ่าน

        สพฐ. ชง คสช. พิจารณาเปิดทางปรับโครงสร้างและแก้กฎหมาย ทั้งขอเพิ่ม อ.ก.ค.ศ. สพฐ. ทำหน้าที่บริหารดูแลบุคลากรตนเองมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการแต่งตั้ง โยกย้ายเองไม่ต้องผ่าน ก.ค.ศ. รวมทั้งขอเพิ่มเขตมัธยมจาก 44 เขต เป็น 77 เขต ให้ครอบคลุมทุกจังหวัด
 
ภาพ สพฐ.ชง คสช.ปรับโครงสร้าง - แก้ กม.โยกย้ายบุคลากรไม่ต้องผ่าน ก.ค.ศ.
นายกมล รอดคล้าย
ภาพ สพฐ.ชง คสช.ปรับโครงสร้าง - แก้ กม.โยกย้ายบุคลากรไม่ต้องผ่าน ก.ค.ศ.

        วันนี้ (29 ก.ค.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เสนอเรื่องไปยังนางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการ ศธ. เพื่อเสนอเรื่องไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้พิจารณาการปรับโครงสร้างและปรับแก้กฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ สพฐ. 3 เรื่อง ได้แก่ 1. ปรับระบบบริหารการบริหารงานบุคคลโดยขอให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) สพฐ. เช่นเดียวกับที่องค์กรหลักอื่นๆ มี อ.ก.ค.ศ. ของตนเอง ซึ่งการที่ สพฐ. ไม่มี อ.ก.ค.ศ. เป็นของตนเอง ทำให้ยังต้องใช้ อ.ก.ค.ศ. ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปพิจารณาเรื่อง ต่างๆ ทั้งนี้ อ.ก.ค.ศ. สพฐ. ที่เสนอให้มีจะมีหน้าที่ในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายผู้อำนวยการสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา (สพม.) ได้จากเดิมที่จะต้องให้ ก.ค.ศ. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ นอกจากนี้ จะยังสามารถพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้งโยกย้ายของข้าราชการครูใน สังกัด สพฐ. ส่วนอำนาจการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารสถานศึกษา ครูก็ยังเป็นอำนาจของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตามเดิม
       
        เรื่องที่ 2 ขอปรับองค์ประกอบของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเพื่อให้เอื้อต่อการเอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาและอาจจะดึง คนที่มีคุณวุฒิ และเป็นที่ยอมรับเข้ามาเป็นกรรมการ อีกทั้งจะเสนอให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นประธาน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ฯ และ 3. การขอขยายเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจาก 42 เขตพื้นที่เป็น 77 เขตพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อความสะดวกและคล่องตัวในการทำงาน เนื่องจากปัจจุบันหลายเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจะต้องดูแลพื้นที่ จังหวัดอื่นด้วย จึงทำให้ไม่สะดวกในการบริหารจัดการ ซึ่งในประเด็นการขอขยายเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานี้ สพฐ. จะเสนอไปยังที่ประชุมสภาการศึกษาให้อนุมัติด้วย เนื่องจากการจะปรับขยายจะต้องได้รับความเห็นชอบดังกล่าวด้วย

 

เครดิต นสพ.ผู้จัดการ