ไทย​ English   การแสดงผล
C
C
C

ข้อมูลข่าวสาร

จ่อลดเกรด ม.เอกชน ไร้คุณภาพเหลือแค่ “วิทยาลัย”

28 พ.ค. 2557 10:57 น.

ผู้อ่าน

ภาพ จ่อลดเกรด ม.เอกชน ไร้คุณภาพเหลือแค่ “วิทยาลัย”
ภาพ จ่อลดเกรด ม.เอกชน ไร้คุณภาพเหลือแค่ “วิทยาลัย”

       วันนี้ (27 พ.ค.) รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (รองเลขาธิการ กกอ.) เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับอธิการบดีวิทยาลัยเชียงราย เรื่องสถาบันขอเปลี่ยนประเภทเป็นมหาวิทยาลัย ว่า ทางวิทยาลัยเชียงราย ได้สอบถามความคืบหน้าภายหลังขอเปลี่ยนประเภทเป็นมหาวิทยาลัยตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ซึ่งสำหรับขั้นตอนของวิทยาลัยดังกล่าว คิดว่าไม่มีปัญหา เพราะหลักสูตรได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพแล้ว ซึ่งขั้นตอนจากนี้ต้องเสนอเรื่องให้อนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณา ก่อนเสนอให้คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เห็นชอบต่อไป อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนประเภทสถาบันเป็นเส้นทางหนึ่งของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเอกชน โดยเริ่มจากเปิดสอนเป็นวิทยาลัย 2-3 สาขา จากนั้นก็ขอเปลี่ยนประเภทเป็นมหาวิทยาลัย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาก็มีทั้งเปลี่ยนแล้ว สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ และไม่มีคุณภาพ ซึ่งก็ได้มีการสั่งปิดไปบ้างแล้วก็มี อาทิ มหาวิทยาลัยอีสาน (มอส.) เป็นต้น โดยขณะนี้ สกอ. ได้ ตั้งสำนักติดตามประเมินผล เพื่อติดตามการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยต่างๆ ว่าได้คุณภาพมาตรฐานหรือไม่ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชน
       
       “ขณะนี้กำลังทางสำนักติดตามและ ประเมินผล กำลังหามาตรการในการควบคุมคุณภาพของมหาวิทยาเอกชนให้เข้มยิ่งขึ้น โดยต่อไปหาพบว่ามหาวิทยาลัยเอกชนใด ที่จัดการศึกษาไม่ได้คุณภาพ ก็อาจให้คืนสถานะกลับไปเป็นวิทยาลัยดังเดิม ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาว่าจะทำได้หรือไม่”รศ.นพ.กำจร กล่าว
       
       รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อว่า ทั้ง นี้ ที่ผ่านมามีนโยบายจำกัดจำนวนสถาบันอุดมศึกษาซึ่งในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา เราสามารถลดการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาใหม่ได้แล้ว แต่เป็นในส่วนของภาครัฐ แต่ก็ยังมีปัญหาว่าไม่สามารถจำกัดการเกิดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้ เนื่องจากติดขัดในข้อกฎหมาย ขณะเดียวกันในส่วนของมหาวิทยาลัยรัฐเอง ก็มีปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการภายใน ที่สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจเบ็ดเสร็จ ทำให้ที่ผ่านมาแม้จะรู้ว่าบางมหาวิทยาลัยมีปัญหาเรื่องการสรรหาอธิการบดี สรรหากรรมการสภาฯ หรือนายกสภาฯ แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ เนื่องจากกฎหมายไม่ได้เปิดช่องไว้ ดังนั้น ในช่วงที่มีการปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปการศึกษา ก็ควรจะเสนอให้มีการปฏิรูประบบอุดมศึกษา ปรับแก้กฎหมายในส่วนที่ติดขัดไปในคราวเดียวกัน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีอำนาจในการกำกับดูแลอุดมศึกษาทั้งระบบอย่าง แท้จริง

 

 

เครดิต นสพ.ผู้จัดการ