ไทย​ English   การแสดงผล
C
C
C

ข้อมูลข่าวสาร

จุฬาฯชงแผน คสช.แก้ระบบแอดมิชชัน ค่าตอบแทนเด็กช่าง

21 ก.ค. 2557 09:55 น.

ผู้อ่าน

ภาพ จุฬาฯชงแผน คสช.แก้ระบบแอดมิชชัน ค่าตอบแทนเด็กช่าง
ภาพ จุฬาฯชงแผน คสช.แก้ระบบแอดมิชชัน ค่าตอบแทนเด็กช่าง

       จุฬาฯ ทยอยจัดส่งแผนปฎิรูปประเทศ-การศึกษา ต่อ คสช. “หมอภิรมย์” ย้ำปฏิรูปการศึกษาไม่เน้นแก้ไขโครงสร้างเพราะมีแต่ย่ำอยู่กับที่ ชูพัฒนาคุณภาพครูในทุกระดับการศึกษา-แก้ปัญหาระบบแอดมิชชันให้มหา’ลัยต้อง ร่วมมือ แนะปรับค่าตอบแทนเด็กช่างให้ใกล้เคียงเด็กป.ตรี จูงใจเรียนสายอาชีพเพิ่ม
       
       ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงแผนปฎิรูปประเทศและการศึกษา ว่า นับแต่เกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงทางการเมือง จุฬาฯได้มีการติดตามและตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วย อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันศึกษาวิจัย รวมถึงเอาผลงานวิจัยที่มีการศึกษาไว้แล้วมารวมรวบ วิเคราะห์และสังเคราะห์ นำไปสู่การกำหนดทิศทางการปฏิรูปประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งขณะนี้ได้ทยอยส่งไปที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)แล้ว ทั้งนี้ ระยะยาวนั้นได้เสนอว่าจะต้องทำเรื่องเหล่านี้ คือ ปฎิรูปการศึกษา พลังงาน คอรัปชัน และการปฎิรูปสื่อ โดยเฉพาะปัญหาคอรัปชัน จุฬาฯได้เสนอให้แก้ไขโดยบูรณาการหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง กฎหมาย เพื่อให้ได้มุมมองหลากหลายแก้ปัญหาทั้งระบบแบบครบวงจร
       
       ส่วนการปฎิรูปการศึกษา จะต้องเร่งพัฒนาคุณภาพครู เพราะต้องยอมรับว่าเรามีปัญหาเรื่องคุณภาพครูในทุกระดับการศึกษา นอกจากนั้นเสนอให้มีการปรับแก้ไขระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดม ศึกษาในระบบกลางหรือแอดมิชชัน ในระดับอุดมศึกษา ซึ่งทุกมหาวิทยาลัยทำงานร่วมกันไม่ใช่ต่างคนต่างรับจนกลายเป็นว่าเด็กต้อง วิ่งรอกสอบและยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้ปกครองด้วย ในส่วนระดับอาชีวศึกษาที่ต่อไปจะมีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น ต้องมีการปรับเปลี่ยนค่านิยม ปรับฐานเงินเดือนผู้ที่จบอาชีวะกับปริญญาตรีต้องไม่ต่างกันมาก เพื่อดึงดูดให้เด็กเข้าเรียนอาชีวะมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แผนปฎิรูปการศึกษาครั้งนี้ ทางจุฬาฯ ไม่ได้นำเสนอเรื่องปรับโครงสร้าง เพราะทุกครั้งที่มีการนำเสนอเรื่องปรับโครงสร้าง ส่วนใหญ่จะมุ่งไปปรับโครงสร้างซึ่งต้องใช้เวลานานทำให้ไม่ได้ทำเรื่องอื่นๆ
       
       “การปฎิรูปครั้งนี้แตกต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมาเป็นเหตุการณ์พิเศษ เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยน ต้องการให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ เพื่อก้าวต่อไปข้างหน้า และ คสช.สามารถดึงพลังให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม น่าจะแก้ปัญหาของประเทศในจุดต่างๆ เป็นการปฎิรูปภาพรวมของทั้งประเทศที่หลายหน่วยงาน องค์กรร่วมกัน ทำให้ไม่มีช่องว่างอย่างที่ผ่านมา รวมถึงการจัดตั้งให้มีสภาปฎิรูป หรือคณะกรรมการปฎิรูปซึ่งมาจากหลากหลายเวทีจะทำให้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหา จากหลายมิติ ครอบคลุม เป็นองค์รวมมากขึ้น ซึ่งในส่วนของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.)ได้มีการหารือกันและคาด ว่าจะส่งอาจารย์เข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฎิรูปการศึกษา”ศ.นพ.ภิรมย์ กล่าว
       
 

 

เครดิต นสพ.ผู้จัดการ